วันพุธที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2551

เรียนรู้ชุมชนบ้านเหนือ ตำบลหนองหงส์ อำเภอทุ่งสง

ผลของการศึกษาเรียนรู้ชุมชนบ้านเหนือ ตำบลหนองหงส์ อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช ทำการศึกษาในประเด็นน่ารู้ 3 มิติ ดังนี้


1. ประวัติชุมชน : ประวัติชุมชนบ้านเหนือ ผู้ถ่ายทอดประสบการณ์ในเวทีวันนั้น ประกอบด้วยนายกิตติ ศรีสวัสดิ์ ตำแหน่งอดีตผู้ใหญ่บ้าน ตำแหน่งสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล พบว่าชุมชนบ้านเหนือมีต้นกำเนิดในอดีตบ้านเหนือมีชื่อว่า บ้านต้นไทร และสภาพการที่เป็นท่าเทียบเรือมีเรือมาจอด ที่บริเวณวัดคงคาเจริญในปัจจุบันและต่อมาได้เปลี่ยนมาเป็นบ้านเหนือ ตั้งอยู่ในหมู่ที่ 6 ตำบลหนองหงส์ อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช
1.1 ด้านภูมิศาสตร์
บ้านเหนือมีสภาพภูมิศาสตร์ห่างจากอำเภอทุ่งสง 5 กิโลเมตร ห่างจากตัวจังหวัด 64 กิโลเมตร ห่างจากกรุงเทพฯ 800 เมตร ลักษณะพื้นที่เป็นที่ราบ มีลำคลองไหลผ่าน เรียกว่า คลองวังหีบ (คลองจอด) สภาพดินทำการเพาะปลูก ทำสวนยางพารา มี 2 ฤดูกาล คือ ฤดูร้อน และฤดูฝน ดังคำกล่าวที่ว่า (ฝน 8 แดด 4) พื้นที่ทั้งหมด 772 ไร่ ทำการเกษตร 512 ไร่ ที่อยู่อาศัย 30 ไร่
1.2 ด้านสังคม พบว่า บ้านเหนือมีสภาพเป็นหมู่บ้านกึ่งเมืองกับชนบท มีหน่วยงานราชการอยู่มาก เช่น โรงพยาบาลทุ่งสง , กรป. , สปช เขต 8,สำนักงาน, หมู่บ้านสหมิตร, แต่ไม่ได้มีปัญหาระหว่างสังคมเก่ากับสังคมใหม่ สามารถที่จะอยู่ร่วมกันประสานประโยชน์กันได้อย่างไม่ก่อให้เกิดปัญหากับชุมชน
1.3 ด้านเศรษฐกิจ พบว่า บ้านเหนือมีสภาพเศรษฐกิจค่อนข้างดี อาชีพหลักของคนในชุมชน คือ ทำสวนยางพารา เปลี่ยนจากที่นามาเป็นที่สวนยางพารา ต้นยางสามารถใช้ประโยชน์ได้หมด กรีดเอานำยางและสามารถขายเป็นไม้ได้
1.4 ด้านการเมือง พบว่า คนในชุมชนให้ความสนใจเกี่ยวกับการเมืองในทุกระดับ ไม่ว่าการเลือกตั้งผู้ใหญ่บ้าน กำนัน อบต. สจ. สว. สส. ทุกระดับที่คนในชุมชนให้ความสนใจ
1.5 สิ่งแวดล้อม พบว่า ชุมชนบ้านเหนือมีโรงงานย่อยขวด ทำให้นำเสีย แต่สภาพดินยังสมบูรณ์ต้นไม้มี ไม้ตะแบก ,อินทรนิน ,ไม้ผล
1.6

2. กลุ่มแกงขมิ้น : แกงขมิ้นหนองหงส์


3. กลุ่มออมทรัพย์บ้านเหนือ :

วันอังคารที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2551

งานวิจัย การพัฒนาเครือข่ายองค์กรสตรีอำเภอทุ่งสง

ความเป็นมาและความสำคัญของเรื่องที่วิจัย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 30 และมาตรา 80 บัญญัติให้ชายและหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกัน และรัฐต้องส่งเสริมความเสมอภาคของหญิงและชาย อย่างไรก็ตามโอกาสของสตรีในการเข้าถึงความต้องการพื้นฐาน การเข้าถึงและควบคุมทรัพยากร รวมทั้งบทบาทของสตรีในการมีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจในทุกระดับยังมีอยู่น้อยมาก รวมทั้ง กรณีการมีส่วนร่วมของสตรีในทางการเมือง ซึ่งแม้ว่าจำนวนประชากรชายและหญิงจะมีสัดส่วนใกล้เคียงกัน (ประชากรทั้งหมด 62.5 ล้านคน เป็นชาย 31.1 ล้านคน เป็นหญิง 31.5) แต่ในทางการเมืององค์ประกอบของผู้แทนในสภาระดับต่างๆ ไม่ได้จำลองภาพของประชากรในสังคม การเลือกตั้งครั้งล่าสุดในระดับต่างๆ (ช่วงปี 2544 - 2545) พบว่า สัดส่วนหญิงที่ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิก องค์การบริหารส่วนตำบลและสมาชิกเทศบาล ร้อยละ 9.3 สมาชิกองค์การบริการส่วนจังหวัด ร้อยละ 7.6 ผู้ใหญ่บ้านและกำนันร้อยละ 2 ฯลฯ จึงปรากฏเห็นได้ว่ามีผู้หญิงได้รับเลือกเป็นสมาชิกสภาท้องถิ่นและระดับต่างๆ รวมทั้งกำนันและผู้ใหญ่บ้าน น้อยมาก และยิ่งมีน้อยลงในระดับผู้บริหารท้องถิ่น
ด้วยกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โดยสำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว มีภารกิจหลักในการส่งเสริมศักยภาพของสตรี ส่งเสริมความเสมอภาคหญิงชายและการพัฒนาครอบครัวให้เข้มแข็งเพื่อเป็นรากฐานที่ดีของชุมชน ซึ่งภารกิจดังกล่าวจำเป็นต้องอาศัยเครือข่ายที่เข้มแข็งในทุกระดับทั่วประเทศ สำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัวจึงได้จัดทำโครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งของเครือข่ายสตรีและสถาบันครอบครัวขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อก่อให้เกิดการรวมกลุ่มของเครือข่ายสตรีและสถาบันครอบครัวทุกระดับ ส่งเสริมพัฒนาศักยภาพของเครือข่ายให้มีโอกาสในการพบปะแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารความรู้ ตลอดจนดำเนินกิจกรรมร่วมกัน และเสริมสร้างความเข้มแข้งของเครือข่ายให้มีการดำรงอยู่อย่างต่อเนื่องสืบไป
การที่เครือข่ายดำรงอยู่ได้ก็ด้วยเหตุผลหลายประการ เช่น เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารเพื่อเป็นศูนย์รวมของการสนับสนุน เพื่อให้เกิดประโยชน์จากการมีประสบการณ์แตกต่างกัน เพื่อเป็นช่องทางสำหรับแหล่งทุน เครือข่ายเป็นเวทีในการเจรจาต่อรอง กับหน่วยงานหรือองค์กรอื่นๆ หน่วยงานส่งเสริมสนับสนุนการสร้างเครือข่ายด้วยเป้าหมาย 2 ประการคือ
1. เพื่อเสริมสร้างศักยภาพและสนับสนุนการเสริมสร้างอำนาจแก่ประชาชน
2. เพื่อเป็นช่องทางสำหรับการให้บริการแก่ประชาชน
การสัมมนาเครือข่ายระดับจังหวัดนครศรีธรรมราชเพื่อสร้างเครือข่ายระดับกลุ่มจังหวัด เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ แนวทางการบริหารของคณะกรรมการเครือข่ายและจังหวัดนครศรีธรรมราชโดยสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดนครศรีธรรมราชได้ดำเนินจัดทำงานด้านพัฒนาเครือข่ายขึ้นเพื่อเป็นประโยชน์ต่อบุคคลเข้าสัมมนาและบุคคลผู้สนใจได้รับทราบเพื่อนำไปสู่การส่งเสริมสนับสนุนและเผยแพร่ต่อไป
ดังนั้นอำเภอทุ่งสงได้เริ่มส่งเสริมพัฒนาเครือข่ายขึ้นเพื่อให้กลุ่มองค์กรสตรีของอำเภอทุ่งสงมีการพัฒนาในระบบการดำเนินงาน

เป้าหมายของการวิจัย
เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ดังกล่าวมีกำหนดเป้าหมายการดำเนินงานด้านสตรีไปสู่ความเสมอภาคระหว่างหญิงและชาย เมื่อสิ้นแผนพัฒนาสตรีฯ ฉบับที่ 10 ในปี 2554 ดังนี้
1. เด็ก เยาวชน หญิงและชาย เคารพศักดิ์ศรีและคุณค่าความเป็นมนุษย์ และความเสมอภาคระหว่างหญิงและชาย
2. สัดส่วนของสตรีในภาคการเมืองและการบริหารเพิ่มขึ้น
3. สตรีกลุ่มต่างๆ มีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบาย วิธีการและการให้บริการสุขภาพอนามัยมากขึ้นและสามารถเข้าถึงบริการต่างๆ ที่จัดไว้ โดยเฉพาะด้านอนามัยการเจริญพันธุ์
4. อัตราการใช้ความรุนแรงต่อสตรีลดลง และสตรีที่ประสบปัญหาสามารถเข้าถึงบริการที่ช่วยแก้ไขปัญหาได้อย่างทั่วถึง
5. สตรีมีส่วนร่วมและรับผลประโยชน์จากเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น

คำถามการวิจัย
1. องค์กรสตรีอำเภอทุ่งสงได้ถือกำเนิดขึ้นเมื่อไร
2. องค์กรสตรีอำเภอทุ่งสงมีแนวทางการดำเนินงานเกี่ยวกับเรื่องใดบ้าง
3. องค์กรสตรีอำเภอทุ่งสงมีกระบวนการในการเชื่อมโยงเครือข่ายได้อย่างไร
4. องค์กรสตรีอำเภอทุ่งสงมีแนวทางในการพัฒนาระบบเครือข่ายไปสู่ความสำเร็จและยั่งยืนได้อย่างไร

วัตถุประสงค์ในการวิจัย
1. เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาขององค์กรสตรีอำเภอทุ่งสง
2. เพื่อศึกษาการดำเนินงานขององค์กรสตรีอำเภอทุ่งสง
3. เพื่อศึกษากระบวนการเชื่อมโยงเครือข่ายขององค์กรสตรีอำเภอทุ่งสง
4. เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาระบบเครือข่ายไปสู่ความสำเร็จและยั่งยืน

ขอบเขตด้านเนื้อหา
1. ศึกษาประวัติความเป็นมาขององค์กรสตรีอำเภอทุ่งสง
2. ศึกษาการดำเนินงานขององค์กรสตรีอำเภอทุ่งสง
3. ศึกษากระบวนการเชื่อโยงเครือข่ายขององค์กรสตรีอำเภอทุ่งสง
4. ศึกษาแนวทางการพัฒนาระบบเครือข่ายไปสู่ความสำเร็จและยั่งยืน

ขอบเขตด้านพื้นที่
เครือข่ายองค์กรสตรีของอำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช

ขอบเขตด้านระยะเวลา
ระยะเวลาในการศึกษาเดือนสิงหาคม 2550 - ตุลาคม 2550

วิธีดำเนินการวิจัย
การวิจัยเรื่อง การมีส่วนร่วมขององค์กรเครือข่ายองค์กรสตรีอำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นการวิเคราะห์การมีส่วนร่วมของสมาชิกเครือข่ายองค์กรสตรีอำเภอทุ่งสงในการดำเนินกิจกรรมของกลุ่มเครือข่าย โดยการวิจัยดังกล่าวใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร และภาคสนามในการทำโฟกัสกรุ๊ปของสมาชิกองค์กรสตรีอำเภอทุ่งสงเป็นผู้ให้ข้อมูลหลักโดยได้ทำการศึกษาจากพื้นที่วิจัย และรูปแบบการบรรยายวิเคราะห์ในการนำเสนอผลการวิจัย ซึ่งมีขั้นตอนในการดำเนินการวิจัยดังนี้
1. ระเบียบวิธีวิจัย รูปแบบในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ เป็นการศึกษาวิจัยแบบวิจัยเชิงคุณภาพ
2. พื้นที่ดำเนินการศึกษาวิจัยพื้นที่ทำการศึกษาวิจัยครั้งนี้ใช้พื้นที่อำเภอทุ่งสง โดยศึกษาวิจัยของ 13 ตำบลของกลุ่มองค์กรสตรี ได้แก่ ตำบลนาโพธิ์ ตำบลนาไม้ไผ่ ตำบลนาหลวงเสน ตำบลถ้ำใหญ่ ตำบลชะมาย ตำบลหนองหงส์ ตำบลเขาขาว ตำบลน้ำตก ตำบลควนกรด ตำบลกะปาง ตำบลที่วัง ตำบลปากแพรก และตำบลเขาโร
3. แหล่งข้อมูลในการวิจัย
แหล่งข้อมูลในการวิจัยมีการเก็บ 2 ประเภท ดังนี้
3.1 ข้อมูลจากเอกสาร
3.2 ข้อมูลภาคสนาม
4. วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล
4.1 ศึกษาเอกสารทางวิชาการและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องต่างๆ เพื่อรวบรวมข้อมูลเบื้องต้นก่อนลงพื้นที่ ข้อมูลที่สำคัญในชั้นนี้ คือ ข้อมูลแนวทฤษฎีเกี่ยวกับการมีส่วนร่วม องค์กรสตรี เครือข่าย
4.2 ศึกษาข้อมูลจากพื้นที่ของอำเภอทุ่งสง 13 ตำบล โดยจัดเป็นโฟกัสกรุ๊ป เพื่อได้เห็นสภาพบรรยากาศการมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนกิจกรรมของเครือข่ายองค์กรสตรีอำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช
4.3 เลือกเรื่องที่สนใจจะศึกษาเรื่องที่ได้รับความสนใจเนื่องจากได้ลงไปศึกษาในพื้นที่ก็จะได้ศึกษาบริบทชุมชนของเครือข่ายองค์กรสตรีอำเภอทุ่งสง และกระบวนการมีส่วนร่วม การดำเนินกิจกรรมขององค์กรสตรีอำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช และการเชื่อมโยงเครือข่ายในการร่วมการทำกิจกรรมด้านต่างๆ เป็นอย่างไรบ้าง
4.4 จัดทำโครงการ
การจัดทำโครงการเพื่อนำเสนอโครงการให้อาจารย์ผู้สอนพิจารณาตรวจสอบ เพื่อปรับแก้ไขโครงการเป็นฉบับสมบูรณ์โดยศึกษาทั้งหมด 7 บทด้วยกัน บทที่ 1 บทนำ บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง บทที่ 3 บริบทชุมชน บทที่ 4 บริบทกลุ่มองค์กร บทที่ 5 บทที่ 6 เครือข่ายการมีส่วนร่วมขององค์กรสตรีอำเภอทุ่งสง บทที่ 7 สรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ
4.5 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการศึกษาจากเอกสารและลงพื้นที่ภาคสนาม โดยใช้วิธีการดังนี้ การสังเกตแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม การสัมภาษณ์สมาชิกขององค์กรเครือข่ายสตรีอำเภอทุ่งสงแบบเป็นทางการและไม่เป็นทางการ การสนทนากัน การจัดโฟกัสกรุ๊ป การจดบันทึก
5. การตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล
การตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลด้วยการอ้างอิงแหล่งข้อมูลที่หามา เพื่อให้งานวิจัยมีความน่าเชื่อถือมากขึ้น และหลังจากได้มีการอ้างอิงเรียบร้อยจึงนำงานวิจัยที่เขียนฉบับร่างไปนำเสนอให้อาจารย์ได้ตรวจสอบก่อนหนึ่งครั้ง ก่อนที่จะนำมาจัดพิมพ์ต่อไป
6. นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ในประเด็นต่อไปนี้
ประวัติความเป็นมาขององค์กรสตรีอำเภอทุ่งสง การดำเนินงานขององค์กรสตรีอำเภอทุ่งสง กระบวนการเชื่อมโยงเครือข่ายขององค์กรสตรีอำเภอทุ่งสง แนวทางการพัฒนาระบบเครือข่ายไปสู่ความสำเร็จและยั่งยืน
7. จัดเรียบเรียงข้อมูลจาการวิเคราะห์
นำเสนออาจารย์ผู้สอนเพื่อพิจารณาจากการเรียบเรียงข้อมูลจากการวิเคราะห์และนำเสนออาจารย์ผู้สอนเพื่อพิจารณานั้นผู้ทำการวิจัยจะเป็นระเบียบขั้นตอนดังนี้ คือ การจัดทำรายงานฉบับร่างเพื่อต้องการเรียบเรียงข้อมูลวิจัยเป็นครั้งแรกพร้อมตรวจสอบข้อผิดพลาดหลังจากนั้นก็นำฉบับร่างมาแก้ไข หลังการจัดทำงานวิจัยฉบับสมบูรณ์
8. นำเสนอข้อมูลฉบับสมบูรณ์
การนำเสนอข้อมูลได้นั้นจะต้องทำเป็นงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ และไม่มีข้อผิดพลาดหลังจากนั้นนำงานวิจัยไปเข้าเป็นเล่มวิจัย แล้วจึงทำการจัดส่งอาจารย์ผู้สอน และภายหลังจากการนำเสนอข้อมูลแก่อาจารย์ผู้สอนแล้ว ก็จะนำวิจัยการมีส่วนร่วมเครือข่ายองค์กรสตรีทางการเมือง ในพื้นที่ที่ทำการศึกษาวิจัย เพื่อเป็นประโยชน์แก่ชุมชนต่อไป

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1. พัฒนาหญิงและชายให้มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับศักดิ์ศรีและคุณค่าความเป็นมนุษย์ และความเสมอภาคระหว่างหญิงและชาย
2. ส่งเสริมและเปิดโอกาสให้สตรีได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาอย่างเต็มศักยภาพ
3. ให้สตรีได้รับการพิทักษ์และคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของสตรี
4. เครือข่ายองค์กรสตรีอำเภอทุ่งสงมีส่วนร่วมในการพัฒนาไปสู่ความยั่งยืน

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. ทราบความเป็นมาของเครือข่ายองค์กรสตรีอำเภอทุ่งสง
2. ทราบการดำเนินงานขององค์กรสตรีอำเภอทุ่งสง
3. ทราบกระบวนการเชื่อมโยงเครือข่ายขององค์กรสตรีอำเภอทุ่งสง
4. ทราบแนวทางการพัฒนาระบบเครือข่ายไปสู่ความสำเร็จและยั่งยืน

กรอบแนวคิด

ตัวแปรต้น 1
เพื่อศึกษาประวัติและการดำเนินงาน
ขององค์กรสตรีอำเภอทุ่งสง

ตัวแปรต้น 2
กระบวนการเชื่อมโยงเครือข่าย
ขององค์กรสตรีอำเภอทุ่งสง
ตัวแปนตาม
การพัฒนาเครื่อข่ายองค์กรสตรี
สำเร็จและยั่งยืนขององค์กรสตรีอำเภอทุ่งสง



การสร้างเครือข่ายการมีส่วนร่วมขององค์กรสตรีอำเภอทุ่งสง

ต.นาไม้ไผ่ ต.ถ้ำใหญ่ ต.หนองหงส์ ต.เขาขาว ต.นาโพธิ์ ต.น้ำตก ต. เขาโร ต. ต.ปากแพรก
ต. กะปาง ต.นาหลวงเสน ต. ชะมาย ต. ที่วัง
จากการศึกษาวิจัยเรื่อง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมา การดำเนินงาน กระบวนการเชื่อมโยงเครือข่าย และแนวทางการพัฒนาระบบเครือข่ายองค์กรสตรีอำเภอทุ่งสงไปสู่ความสำเร็จและยั่งยืน โดยมีเป้าหมายของการวิจัยเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ดังกล่าวมีกำหนดเป้าหมายการดำเนินงานด้านสตรีไปสู่ความเสมอภาคระหว่างหญิงและชาย เมื่อสิ้นแผนพัฒนาสตรีฯ ฉบับที่ 10 ในปี 2554 ดังนี้ เด็ก เยาวชน หญิงและชาย เคารพศักดิ์ศรีและคุณค่าความเป็นมนุษย์ และความเสมอภาคระหว่างหญิงและชาย สัดส่วนของสตรีในภาคการเมืองและการบริหารเพิ่มขึ้นสตรีกลุ่มต่างๆ มีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบาย วิธีการและการให้บริการสุขภาพอนามัยมากขึ้นและสามารถเข้าถึงบริการต่างๆ ที่จัดไว้ โดยเฉพาะด้านอนามัยการเจริญพันธุ์ อัตราการใช้ความรุนแรงต่อสตรีลดลง และสตรีที่ประสบปัญหาสามารถเข้าถึงบริการที่ช่วยแก้ไขปัญหาได้อย่างทั่วถึง สตรีมีส่วนร่วมและรับผลประโยชน์จากเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น ขอบเขตในการวิจัย แบ่งได้ 3 ขอบเขต ดังนี้ ประแรกขอบเขตด้านเนื้อหา ศึกษาประวัติความเป็นมาขององค์กรสตรีอำเภอทุ่งสง ศึกษาการดำเนินงานขององค์กรสตรีอำเภอทุ่งสง ศึกษากระบวนการเชื่อโยงเครือข่ายขององค์กรสตรีอำเภอทุ่งสง ศึกษาแนวทางการพัฒนาระบบเครือข่ายไปสู่ความสำเร็จและยั่งยืน ประการที่สองขอบเขตด้านพื้นที่ เครือข่ายองค์กรสตรีของอำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช และขอบเขตประการที่สาม ขอบเขตด้านระยะเวลา
ระยะเวลาในการศึกษาเดือนสิงหาคม - ตุลาคม
วิธีดำเนินการวิจัยการวิจัยเรื่อง การมีส่วนร่วมขององค์กรเครือข่ายองค์กรสตรีอำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นการวิเคราะห์การมีส่วนร่วมของสมาชิกเครือข่ายองค์กรสตรีอำเภอทุ่งสงในการดำเนินกิจกรรมของกลุ่มเครือข่าย โดยการวิจัยดังกล่าวใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร และภาคสนามในการทำโฟกัสกรุ๊ปของสมาชิกองค์กรสตรีอำเภอทุ่งสงเป็นผู้ให้ข้อมูลหลักโดยได้ทำการศึกษาจากพื้นที่วิจัย และรูปแบบการบรรยายวิเคราะห์ในการนำเสนอผลการวิจัย ซึ่งมีขั้นตอนในการดำเนินการวิจัยดังนี้ ระเบียบวิธีวิจัยรูปแบบในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ เป็นการศึกษาวิจัยแบบวิจัยเชิงคุณภาพ พื้นที่ดำเนินการศึกษาวิจัยพื้นที่ทำการศึกษาวิจัยครั้งนี้ใช้พื้นที่อำเภอทุ่งสง โดยศึกษาวิจัยของ 13 ตำบลของกลุ่มองค์กรสตรี ได้แก่ ตำบลนาโพธิ์ ตำบลนาไม้ไผ่ ตำบลนาหลวงเสน ตำบลถ้ำใหญ่ ตำบลชะมาย ตำบลหนองหงส์ ตำบลเขาขาว ตำบลน้ำตก ตำบลควนกรด ตำบลกะปาง ตำบลที่วัง ตำบลปากแพรก และตำบลเขาโร แหล่งข้อมูลในการวิจัยแหล่งข้อมูลในการวิจัยมีการเก็บ 2 ประเภท ดังนี้ ข้อมูลจากเอกสาร ข้อมูลภาคสนาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล ศึกษาเอกสารทางวิชาการและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องต่างๆ เพื่อรวบรวมข้อมูลเบื้องต้นก่อนลงพื้นที่ ข้อมูลที่สำคัญในชั้นนี้ คือ ข้อมูลแนวทฤษฎีเกี่ยวกับการมีส่วนร่วม องค์กรสตรี เครือข่าย ศึกษาข้อมูลจากพื้นที่ของอำเภอทุ่งสง 13 ตำบล โดยจัดเป็นโฟกัสกรุ๊ป เพื่อได้เห็นสภาพบรรยากาศการมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนกิจกรรมของเครือข่ายองค์กรสตรีอำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช เลือกเรื่องที่สนใจจะศึกษาเรื่องที่ได้รับความสนใจเนื่องจากได้ลงไปศึกษาในพื้นที่ก็จะได้ศึกษาบริบทชุมชนของเครือข่ายองค์กรสตรีอำเภอทุ่งสง และกระบวนการมีส่วนร่วม การดำเนินกิจกรรมขององค์กรสตรีอำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช และการเชื่อมโยงเครือข่ายในการร่วมการทำกิจกรรมด้านต่างๆ เป็นอย่างไรบ้าง จัดทำโครงการการจัดทำโครงการเพื่อนำเสนอโครงการให้อาจารย์ผู้สอนพิจารณาตรวจสอบ เพื่อปรับแก้ไขโครงการเป็นฉบับสมบูรณ์โดยศึกษาทั้งหมด 7 บทด้วยกัน บทที่ 1 บทนำ บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง บทที่ 3 บริบทชุมชน บทที่ 4 บริบทกลุ่มองค์กร บทที่ 5 บทที่ 6 เครือข่ายการมีส่วนร่วมขององค์กรสตรีอำเภอทุ่งสง บทที่ 7 สรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการศึกษาจากเอกสารและลงพื้นที่ภาคสนาม โดยใช้วิธีการดังนี้ การสังเกตแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม การสัมภาษณ์สมาชิกขององค์กรเครือข่ายสตรีอำเภอทุ่งสงแบบเป็นทางการและไม่เป็นทางการ การสนทนากัน การจัดโฟกัสกรุ๊ป การจดบันทึก การตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล การตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลด้วยการอ้างอิงแหล่งข้อมูลที่หามา เพื่อให้งานวิจัยมีความน่าเชื่อถือมากขึ้น และหลังจากได้มีการอ้างอิงเรียบร้อยจึงนำงานวิจัยที่เขียนฉบับร่างไปนำเสนอให้อาจารย์ได้ตรวจสอบก่อนหนึ่งครั้ง ก่อนที่จะนำมาจัดพิมพ์ต่อไป นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ในประเด็นต่อไปนี้ ประวัติความเป็นมาขององค์กรสตรีอำเภอทุ่งสง การดำเนินงานขององค์กรสตรีอำเภอทุ่งสง กระบวนการเชื่อมโยงเครือข่ายขององค์กรสตรีอำเภอทุ่งสง แนวทางการพัฒนาระบบเครือข่ายไปสู่ความสำเร็จและยั่งยืน จัดเรียบเรียงข้อมูลจาการวิเคราะห์
ผลที่คาดว่าจะได้รับพัฒนาหญิงและชายให้มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับศักดิ์ศรีและคุณค่าความเป็นมนุษย์ และความเสมอภาคระหว่างหญิงและชาย ส่งเสริมและเปิดโอกาสให้สตรีได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาอย่างเต็มศักยภาพ ให้สตรีได้รับการพิทักษ์และคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของสตรีและ เครือข่ายองค์กรสตรีอำเภอทุ่งสงมีส่วนร่วมในการพัฒนาไปสู่ความยั่งยืน ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ ทราบความเป็นมาของเครือข่ายองค์กรสตรีอำเภอทุ่งสง ทราบการดำเนินงานขององค์กรสตรีอำเภอทุ่งสง ทราบกระบวนการเชื่อมโยงเครือข่ายขององค์กรสตรีอำเภอทุ่งสง และทราบแนวทางการพัฒนาระบบเครือข่ายไปสู่ความสำเร็จและยั่งยืน

อภิปรายผล
จากผลการวิจัยเรื่อง การมีส่วนร่วมของเครือข่ายองค์กรสตรีอำเภอทุ่งสงทางการเมือง

อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช ทางทีมวิจัยได้มีแนวความคิดในการศึกษา 4 ด้าน ดังนี้
1. ประวัติความเป็นมาขององค์กรสตรีอำเภอทุ่งสง
ประวัติความเป็นมาขององค์กรสตรีอำเภอทุ่ง ได้ถือกำเนิดตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และแผนพัฒนาสตรี ในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 9
2. การดำเนินงานขององค์กรสตรีอำเภอทุ่งสง
การดำเนินงานขององค์กรสตรีอำเภอทุ่งสง มี 9 ด้านดังนี้
1. กิจกรรมการขับเคลื่อนทางการเมือง
1.1 จัดอบรมให้ความรู้ด้านภาวะผู้นำ เพื่อเพิ่มศักยภาพภาวะผู้นำแก่องค์กรสตรีฝึกการพูดต่อหน้าชุมชน การเป็นพิธีกร บุคลิกภาพ ฯลฯ จะได้ออกสู่สังคมด้วยความมั่นใจ
1.2 จัดอบรมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของสตรีในทุกระดับ เพื่อนำความรู้ที่ได้รับไปถ่ายทอดแก่ชุมชน เพื่อกระตุ้นให้สตรีในชุมชนสมัครลงรับเลือกตั้งในระดับต่างๆ เช่น อบต. สจ สท กำนัน ผู้ใหญ่
1.3 จัดอบรมเรื่องการผลักดันกฎหมาย เพื่อคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิสตรี ความเสมอภาค หญิงชาย วิทยากรจากสำนักงานกิจการสตรี และสถาบันครอบครัว
1.4 แกนนำสตรีรณรงค์ การซื้อสิทธิ์ขายเสียง และไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง แก่ประชาชนทั่วไปในชุมชน อธิยายให้ประชาชนทราบถึงผลเสีย ของการซื้อสิทธิ์ขายเสียง และการไม่ไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง
1.5 จัดอบรมให้ความรู้รัฐธรรมนูญใหม่ เพื่อนำไปเผยแพร่ และปฏิบัติได้ถูกต้อง
1.6 จัดอบรมคุณธรรม จริยธรรม ขององค์กรสตรีในระดับ หมู่บ้าน ตำบล อำเภอ เพราะสังคมประชาธิปไตย ต้องมีคุณธรรม จริยธรรม ควบคู่ไปด้วย


2. กิจกรรมการขับเคลื่อนทางสังคม
2.1 ผู้สูงอายุ
2.1.1 แกนนำองค์กรสตรีสมัครเป็นสมาชิกสมทบชมรมผู้สูงอายุ เพื่อจะได้เข้าไปช่วยเหลืองานในด้านต่างๆ เช่น งานทะเบียน กิจกรรมนันทนาการ การประสานงานกับองค์กรเอกชนต่างๆ
2.1.2 ช่วยเหลือผู้สูงอายุที่ถูกทอดทิ้ง โดยประสานงานกับกิ่งกาชาด และสำนักงานพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์เพื่อหาทางช่วยเหลือ
2.1.3 จัดตั้งกลุ่มออกกำลังกาย ให้ผู้สูงอายุ เช่น รำไทเก๊ก กระบอง รำวงย้อนยุค เพื่อส่งเสริมสุขภาพอนามัย และสุขภาพจิตที่ดี ไม่เป็นโรคซึมเศร้า
2.1.4 ให้ความรู้เรื่องของอาชีพเสริม เพื่อได้พบปะพูดคุยกัน และมีรายได้เสริม เช่น การทำดอกไม้จันทน์ ทำยาหม่องน้ำ เงินโปรยทาน จักรสานวัสดุ ในท้องถิ่น เช่น ไม้ไผ่ กก หวาย
2.2 สตรี
2.2.1 จัดทำโครงการ เพื่อช่วยเพื่อน สตรีที่ด้อยโอกาส สตรีที่เป็นหม้ายที่ต้องรับภาระเลี้ยงดูบุตรคนเดียว สตรีที่เป็นโรคติดเชื้อ HIV โดยการจัดต้องกองทุนสวัสดิการ เพื่อไว้ช่วยเหลือยามจำเป็น
2.2.2 กลุ่มที่เข้มแข็ง จะเป็นพี่เลี้ยงกลุ่มที่อ่อนแอกว่าโดยเข้าไปเป็นพี่เลี้ยงให้คำแนะ การบริหารจัดการกลุ่ม เช่น กลุ่มออมทรัพย์ กลุ่มอาชีพ
2.2.3 ร่วมกิจกรรมทุกอย่างที่ได้รับเชิญจากส่วนราชการ และองค์กรเอกชน เช่น กิจกรรมวันที่ 12 สิงหาคม 5 ธันวาคม รณรงค์ต่อต้านยาเสพติดรณรงค์การเลือกตั้ง งานแห่หมรับเดือนสิบ และงานแห่ผ้าขึ้นธาตุ
2.3 เยาวชน
2.3.1 จัดตั้งกลุ่มอาชีพให้แก่เยาวชนในชุมชน เช่น กลุ่มไม้ดอกไม้ประดับ กลุ่มเพาะเห็ด และกลุ่มเลี้ยงไก่พื้นบ้าน
2.3.2 ประสานงานกับ อบต. จัดลานกีฬาในชุมชน เช่น ฟุตบอล แบตมินตัน วอลเล่ย์บอล ฯลฯ เพื่อให้เยาวชน ห่างไกลจากยาเสพติด
2.3.3 องค์กรสตรีเข้าไปสอน หลักสูตรท้องถิ่นในโรงเรียน เช่น อาหารพื้นบ้าน กลองยาว รำมโนราห์ เพลงช้าน้อง แทงต้ม ขนมลา ขนมพอง ฯลฯ
2.3.4 จัดเข้าค่ายเยาวชนในเรื่องของคุณธรรม จริยธรรม ในสังคมไทยเพื่อปลูกฝังให้เกิดจิตสำนึกในความเป็นไทย
2.4 ผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาส
2.4.1 ช่วยเหลือโดยหาอาชีพเสริมให้ผู้พิการทำ พร้อมทั้งหาตลาดให้ด้วยเพื่อให้ผู้พิการพึ่งตนเองได้
2.4.2 ประสานงานกับพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์ช่วยเหลือผู้พิการผู้ด้อยโอกาสในชุมชน
2.4.3 ตั้งกองทุนสวัสดิการให้ผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาส เช่นเงินปันจากเงินออมทรัพย์ตัดไว้เป็นกองทุนสวัสดิ์การ 5%

3. กิจกรรมการขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจ
3.1 เป็นผู้นำในเรื่องของกลุ่มอาชีพต่างๆ เช่น กลุ่มอาหารพื้นบ้าน กลุ่มขนมพื้นบ้าน
กลุ่มแปรรูปผลผลิตเกษตร เพื่อเป็นรายได้เสริมแก่ครอบครัว
3.2 จัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต ฝึกในการบริหารจัดการเรื่องเงินและให้รู้จักพึ่งตนเอง
3.3 จัดตั้งร้านค้าชุมชน โดยการระดมหุ้น เป็นการลดค่าใช้จ่าย สมาชิกจะได้ซื้อของถูก และมีเงินปันผลคือสมาชิกตอนสิ้นปี
3.4 จัดตั้งตลาดนัดชุมชน สัปดาห์ละ 1 วัน ใครมีพืชผักสวนครัว ผลผลิตในครัวเรือนสามารถนำมาจำหน่ายได้ เป็นการแลกเปลี่ยนสินค้ากันในชุมชน
3.5 องค์กรสตรีเป็นตัวอย่างในการดำรงชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง เป็นการลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ สู่สังคมอยู่ดีมีสุข
3.6 ฝึกให้สตรีรู้จักประหยัดอย่าไปหลงในการบริโภคนิยม เพื่อเป็นตัวอย่างแก่ชุมชน
3.7 ให้ความร่วมมือและช่วยขับเคลื่อนให้มีแผนชุมชน ทำบัญชีรับ - จ่าย ในครัวเรือน
3.8 เป็นแกนนำในการพัฒนาอาชีพ เช่น จัดตั้งกลุ่มปรับปรุงคุณภาพยางแผ่นให้มีคุณภาพ เพื่อเพิ่มมูลค่าของยางพารา
3.9 ช่วยเหลือแนะนำกลุ่มอาชีพ เรื่องการเขียนโครงการเพื่อขอสนับสนุนงบประมาณจาก อบต. อบจ. องค์กรเอกชนต่างๆ

4. กิจกรรมส่งเสริมด้านการศึกษา
4.1 แกนนำองค์กรสตรี ถ่ายทอดความรู้ให้แก่ กลุ่มเยาวชน กลุ่มสนใจ นักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไป เช่น เรื่องการแปรรูปผลผลิตเกษตร การทำขนมไทย การทำอาหารพื้นบ้าน
4.2 องค์กรสตรีถ่ายทอดความรู้ให้นักเรียนในโรงเรียน เช่นถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นต่างๆ ซึ่งบรรจุเป็นหลักสูตรท้องถิ่น
4.3 แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับองค์กรสตรีกลุ่มต่างๆ ที่ประสบผลสำเร็จ นำความรู้ที่ได้รับมาพัฒนากลุ่ม และชุมชนของตนเอง
4.4 จัดทำเอกสารเผยแพร่แก่ชุมชน เช่น การทำอาหารพื้นบ้าน ขนมพื้นบ้าน เพื่ออนุรักษ์ไร้คู่กับชุมชน ได้ให้เยาวชนรุ่นหลัง ได้ศึกษาเรียนรู้
4.5 ประสานงานกับ กศน. มาสอนองค์กรสตรีที่มีความประสงค์จะเรียนต่อในวิชาสามัญ

5. กิจกรรมส่งเสริมด้านสุขภาพอนามัย
5.1 องค์กรสตรีสมัครเป็น อสม. เพื่อสมัครเป็นอาสาสมัครสาธาณสุข ช่วยเหลือชุมชนของตนเอง ช่วยเหลือการจัดความดัน ตรวจเบาหวาน สำรวจ จปฐ. สตรีที่ติดเชื้อ HIV ฯลฯ
5.2 ให้ความรู้ด้านอนามัยแม่และเด็กในชุมชน เช่นเกิดภาวะทุพโภชนาการ การเลี้ยงดูทารกที่ถูกวิธี ก็สามารถให้คำแนะนำได้
5.3 จัดตั้งกลุ่มออกกำลังกายในชุมชน เพื่อส่งเสริมให้ร่างกายแข็งแรง
5.4 ให้ความรู้ด้านสุขภาพ เลือกรับประทานอาหารที่ปลอดสารพิษ ลดอาหารหวาน มัน เพื่อสุขภาพที่ดี ห่างไกลจากโรค
5.5 จัดประกวดบ้านตัวอย่าง ที่ถูกสุขลักษณะ เช่น บริเวณบ้านสะอาด จัดภูมิทัศน์สวยงาม น่าอยู่ ปลอดภัยจากเชื้อโรค

6. กิจกรรมส่งเสริมด้านสิ่งแวดล้อม
6.1 เป็นแกนนำในการปลูกต้นไม้ในวันสำคัญ เช่น 12 สิงหาคม 5 ธันวาคม
6.2 รณรงค์ไม่ทิ้งขยะทุกชนิด และสิ่งปฏิกูลลงในลำคลองเพราะเป็นแหล่งของเชื้อโรค
6.3 อบรมเยาวชนให้มีจิตสำนึก ไม่ตัดไม้ทำลายป่า อนุรักษ์ป่าต้นน้ำเป็นการสร้างความสมดุลทางธรรมชาติ
6.4 ดูแล อย่าให้โรงงานปล่อยน้ำเสียลงในคูคลอง เพราะมีสารปนเปื้อนทำให้สัตว์นำทุกชนิดตาย และมีสารติดค้างในพืช สัตว์ เมื่อประชาชนนำมารับประทานจะเป็นอันตรายแก่ชีวิตได้
6.5 ควรอนุรักษ์ป่าชุมชน ไว้ให้สมบูรณ์ที่สุด เพราะเป็นแหล่งอาหารที่สมบูรณ์ของชุมชน เช่น พืชผักพื้นบ้าน เห็ด หน่อไม้ ฯลฯ
6.6 รณรงค์อย่าให้ชุมชนสารเคมี ควรใช้สมุนไพรตามธรรมชาติ
6.7 ฝึกการทำปุ๋ยชีวภาพใช้เองในครัวเรือน เพื่อเป็นการประหยัดและไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม

7. กิจกรรมส่งเสริมด้านสาธารณประโยชน์
7.1 องค์กรสตรีเข้าเป็นกรรมการมูลนิธิต่างๆ เพื่อช่วยเหลือสังคม
7.2 จัดการพัฒนาวัด และศาลาเอนกประสงค์ประจำหมู่บ้านทุกเดือน โดยหมุนเวียนกันตามความเหมาะสม
7.3 ร่วมปลูกดอกบานบุรีริมถนนทุกตำบล เนื่องในวโรกาสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระชนมายุครบ 50 พรรษา
7.4 องค์กรสตรี ร่วมบริจาคช่วยเหลือผู้ประสบภัยต่างๆ เช่น สึนามิ อุทกภัย อัคคีภัย ฯลฯ
7.5 ร่วมพัฒนาหมู่บ้านในโอกาสวันสำคัญต่างๆ เช่น วันแม่ 12 สิงหาคม วันพ่อ 5 ธันวาคม ฯลฯ

8. กิจกรรมส่งเสริมด้านประเพณีวัฒนธรรม
8.1 องค์กรสตรี เป็นแกนหลักในการอนุรักษ์ประเพณีวัฒนธรรมไทยด้านต่างๆ เช่น การแต่งกาย ด้านภาษา การจัดงานประเพณี เทศกาลของไทย
8.2 เป็นแกนนำในการฟื้นฟูประเพณีโบราณ เพื่อเป็นการอนุรักษ์ไว้ให้คู่กับสังคม
8.3 ร่วมงานประเพณีที่ทางส่วนราชการจัด เช่น งานชักพระ งานสงกรานต์ งานแห่หมรับเดือนสิบ งานแห่ผ้าขึ้นธาตุ งานหล่อเทียนพรรษา ฯลฯ
8.4 จัดเข้าค่ายเยาวชน เพื่อให้ตระหนักในคุณค่าของประเพณี วัฒนธรรมไทยโดยให้จำลอง วิถีชีวิต แบบไทยดั้งเดิม
8.5 การแต่งกายเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ชุมชน เช่นไปทำบุญที่วัดไม่นุ่งกางเกง
8.6 จัดทอดกฐิน ขององค์กรสตรีทุกปี หมุนเวียนทอดกฐินกัน ทุกตำบล
9. กิจกรรมด้านกีฬา
9.1 จัดกีฬาองค์กรสตรีทุกปี เพื่อเชื่อมความสมานสามัคคีในหมู่สตรีด้วยกันรู้จักแพ้ชนะเอื้ออาทร ให้อภัยแก่กัน
9.2 องค์กรสตรีร่วมแข่งขันกีฬากับโรงเรียนในชุมชน เช่นประเภทกีฬาพื้นบ้าน ชักกะเย่อ เก้าอี้ดนตรี ปิดตาตีหม้อ วิ่งเปี้ยว เป็นต้น เพื่อกระชับความสัมพันธ์ ระหว่างชุมชนกับโรงเรียน
9.3 จัดตั้งทีมฟุตบอลในองค์กรสตรี มีการแข่งขันทุกปีเป็นคู่เป็นสนาม คือทีม ตำบลควนกรด และทีมตำบลกะปาง
ข้อเสนอแนะสมาชิกเครือข่ายองค์กรสตรี
1. ควรส่งเสริมให้มีการพัฒนาสมาชิกองค์กรสตรีในทุกด้าน
2. ควรส่งเสริมให้องค์กรสตรีมีสำนักงานเป็นของตนเอง
3. ควรส่งเสริมด้านงบประมาณในการพัฒนาองค์กรต่อไป

ข้อเสนอแนะของผู้วิจัย
1. ควรสนับสนุนให้สมาชิกองค์กรสตรีอำเภอทุ่งพัฒนาศักยภาพไปสู่การพัฒนาด้านการขับเคลื่อนเครือข่ายด้วยการวิจัยไปพร้อมกับการดำเนินกิจกรรมได้ด้วยตนเอง
2. ควรมีการส่งเสริมให้สมาชิกองค์กรสตรีมีสำนักงานเป็นขององค์กรที่แท้จริงเหมาะในการดำเนินงาน
3. ควรมีการสนับสนุนงบประมาณให้องค์กรสตรีขับเคลื่อนด้านกิจกรรมในสังคม และพัฒนาศักยภาพด้านความคิด สุขภาพ บุคลิกภาพ
4. ส่งเสริมการมีบทบาททางด้านสังคมให้มากขึ้นกว่าที่เป็นอยู่